หนังสือเล่มนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวิวัฒนาการ การแต่งกายสตรีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ อาทิ การนุ่งห่มผ้าสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ ๑-๓ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๙๔ อิทธิพลตะวันตกกับการแต่งกายสตรี ไทยสมัยปฏิรูปรวมถึงการแต่งกายของสตรีไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ในการสร้างสรรค์และสืบสานธรรมเนียมการแต่งกายแบบไทย ทรงพระราชดำริให้มีการตัดเย็บชุดไทยเพื่อทรงในระหว่างการเสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการ อันเป็นที่มาของชุดไทยพระราชนิยม ๘ แบบ ซึ่งกลายเป็นชุดประจำชาติสำหรับสตรีไทยในปัจจุบัน โดยตั้งชื่อแต่ละชุดตามพระที่นั่ง ตำหนัก สถานที่สำคัญต่างๆ ในพระบรมมหาราชวังและในพระราขวังดุสิต ได้แก่ ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยพรมพิมาน ชุดไทยจักรี ชุดไทยดุสิต ชุดไทยศิวาลัย และชุดไทยจักรพรรดิ หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวพระราชกรณียกิจในการฟื้นฟูส่งเสริมหัตถกรรมการทอผ้าและการเผยแพร่ผ้าพื้นเมืองประเภทต่างๆ ที่กำลังจะสูญหายเพื่อให้กลับมาเป็นที่รู้จัก โดยมีพระราชดำริให้นำผ้าเหล่านี้มาออกแบบตัดเย็บเป็นฉลองพระองค์เพื่อทรงในโอกาสต่างๆ เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้ชาวไทยและชาวต่างชาติได้ชื่นชมความงดงามของผ้าไทย