การใช้ชีวิตของคนไทยแต่อดีตจะผูกพันกับสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม เนื่องด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยังคงดำรงชีพ ด้วยวิถีทางเกษตรกรรม ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยขึ้นมากมายที่มีสภาพ แวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อมาเมื่อมีความคิดที่จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงนำเทคโนโลยีจากตะวันตกซึ่งมีพื้นฐานแตกต่างไปจากวิถีไทยที่เคยถือปฏิบัติกันมาแต่เดิมเป็นอันมากมาใช้ โดยเฉพาะในยุค รัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ ๕ - ๖ จึงทำให้การดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปมาก รวมทั้งพาหนะที่ใช้ในการเดินทางก็ได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย
ความรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับพาหนะนั้น บางครั้งถึงกับทำให้พาหนะที่สำคัญในยุคเชื่อมต่อแห่งพัฒนาการ ดังเช่น รถม้าในเมืองไทยที่เคยเป็นเจ้าถนนในช่วงรัชกาลที่ ๕ - ๖ กลับหายไปจากความทรงจำ โดยไม่มีบทบันทึกใด ๆ เก็บช่วงแห่งประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมนั้นหลงเหลือไว้ ดังนั้น เมื่อนายวัฒนะ บุญจับ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ พิเศษ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เสนอโครงการศึกษา และจัดพิมพ์หนังสือ "รถม้าและพาหนะร่วมสมัย" กรมศิลปากรจึงยินดีให้การสนับสนุน
กรมศิลปากรหวังว่าหนังสือ "รถม้าและพาหนะร่วมสมัย" นี้ คงจะอำนวยประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจโดยทั่วกัน.
ปกแข็ง / 292 หน้า พิมพ์ครั้งที่ : 1 (2,000 เล่ม) ปีที่พิมพ์ : 2552
ขนาด : กว้าง 21.7 ซ.ม. ยาว 30 ซ.ม. สภาพ : เก่าเก็บ