สมเด็จโตเล่มนี้ ผู้จัดทำแจ้งว่าได้เรียบเรียงจากบันทึกจากคำบอกเล่าของหลวงปู่คำ เจ้าอาวาสวัดอัมรินทร์ ธนบุรี ผู้บันทึกชาติภูมิท่านเจ้าพระประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี) โดยนายเพชร นายเจิม ขุนพิทักษ์ราช และนายพร เป็นผู้จดบันทึก ตั้งแต่เป็นเณรจนบวชเป็นพระกระทั่งมรณภาพ ได้บอกเล่าพิมพ์พระหลายสิบพิมพ์ อธิบายถึงเนื้อพระพิมพ์ต่างๆให้เข้าใจง่าย ท่านที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจพิมพ์พระและเนื้อพระจะได้รู้จริงจากหนังสือเล่มนี้ด้วยตัวเอง
• พระพิมพ์พิเศษรูปเหมือนท่านโต ( วัดระฆัง) - องค์พระ - เป็นรูปเหมือนท่านเจ้าประคุณ ศีรษะโต มีหูทั้งสองข้าง นั่งขัดสมาธิสองชั้น วงแขนขวาตรงกับมือทับกับวงแขนซ้ายตรงข้อมือ มีพัดยศทั้งสองข้าง มีเส้นอาสนะรองรับนั่ง มีซุ้มผ่าหวายครอบองค์พระใต้ที่นั่งว่า "สมเด็ดโต" เป็นพิมพ์สี่เหลี่ยม พิมพ์ตื้น ขุนพิทักษ์ (นายแก้ว) เป็นผู้เอาแม่พิมพ์มาถวาย แต่ท่านโตไม่ยอมรับและพูดว่า อาตมาจะทำพระแจกต้องเป็นรูปพระปฎิมากร ไม่ใช่เอารูปฉันไปแจก ขุนพิทักษ์ก็ไม่ยอมบอกว่าจะทำไปแจกลูกหลาน โดยขอผงพระที่ปลุกเสกแล้วมากดพิมพ์เอง ท่านเจ้าประคุณไม่รู้จะทำอย่างไร เลยรับเอาแม่พิมพ์มาวางที่ถาดที่ใส่ผงผสมไว้แล้ว
ขุนพิทักษ์ขอให้เณรช่วยพิมพ์พระได้ไป 100 กว่าองค์ ผู้ที่มาในวันนั้นจะได้รับแจกพิมพ์รูปเหมือนทุกคนพวกบ้านช่างหล่อได้ไป 40 กว่าองค์ พิมพ์ได้ประมาณ 400 องค์ เผอิญผงติดแม่พิมพ์แคะไม่ออก จึงให้ลูกน้องที่ติดตามมาเอาไปล้าง แม่พิมพ์ตกลงมาแตก ท่านเจ้าประคุณทราบก็ชอบใจและพูดว่า ฉันไม่เต็มใจให้พิมพ์รูปของฉันแม่พิมพ์จึงตกแตก พระพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่หาดูยากมาก ตอนนั้นอายุ 85 ปีอีก 4 เดือน ต่อมาก็มรณภาพ เป็นพิมพ์สุดท้าย เนื้อพระ-เป็นเนื้อผงผสมข้าวสุก ผงเกษร ผงใบลาน ผงตะไคร่เจดีย์ ผงดำ และน้ำมันตั่งอิ๊ว เนื้อแห้งจะขาวอมเขียว (เนื้อก้านมะลิ) แข็งแกร่ง วัดระฆัง ครองสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี) จ.ศ.1234 หรือพ.ศ. 2415 อายุ 85 ปี จากรูปหน้าปก
-แม้นพระพิมพิ์นี้จะไม่ถูกกล่าวถึงในวงการเซียนพระเครื่องเนื่องจากมีจำนวนน้อย แต่หากตามบันทึกแล้วก็อาจถือว่าเป็นพิมพ์สุดท้าย ของสมเด็จโต เนื้อหาที่น่าสนใจในเล่ม ประกอบด้วยรูปถ่ายพระพิมพ์สมเด็จจำนวนกว่า 300 แผ่น พร้อมคำอธิบายพิมพ์ ผู้แกะพิมพ์ และมวลสารประกอบทุกภาพ ท้ายเล่มยังประกอบด้วยประวัติที่น่าสนใจอีกหลาย
ปกแข็ง หนา 706 หน้า 4 สีทั้งเล่ม (กระดาษอาร์ตมัน) ขนาด: กว้าง 22 ซม. ยาว 30 ซม. สภาพ: ดีเก่าเก็บ